ยินดีต้อนรับสู่รั้วอาหารไทย
ที่มา : MrFoodandTravel
ความหมายของอาหาร
อาหารที่เรารับประทาน ได้แก่ เนื้อสัตว์ ข้าว แป้ง ผัก ผลไม้้ และไขมัน
ความสำคัญของอาหาร
อาหารเป็นปัจจัยหนึ่งที่จำเป็นต่อชีวิต ที่ช่วยทำให้ร่างกายเจริญเติบโต แข็งแรง สมบูรณ์ สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆได้
* อาหารคาว คือ อาหารที่ทานกับข้าวสวยหรือข้าวเหนียว เช่น ผัด แกง ต้ม
* อาหารหวาน คือ ของว่างที่รับประทานหลังจากรับประทานอาหารคาวเสร็จแล้ว เช่น ขนมต่างๆ
รสชาติ
หมายถึง ลักษณะเฉพาะของอาหารที่รับรู้ได้ด้วยลิ้น รสชาติจำเป็นจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ 3 ประการได้แก่
1. รสชาตินั้นจะต้องแตกต่างไปจากรสชาติอื่นๆอย่างสิ้นเชิง เช่น รสหวานไม่เหมือนรสเปรี้ยว
2. รสชาตินั้นจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากการผสมรสชาติชนิดอื่นๆ เช่น เกลือผสมน้ำตาลไม่ทำให้เกิดรสขม
3. รสชาตินั้นจะต้องเป็นรสชาติที่เกิดขึ้นได้จากองค์ประกอบที่อยู่ในอาหาร เช่น รสเค็มเกิดจากเกลือแกง รสหวานเกิดจากน้ำตาล รสเปรี้ยวเกิดจากน้ำส้มสายชู รสขมจากมะระ และรสอูมามิเกิดจากโมโนโซเดียมกลูตาเมต (ผงชูรส)
นอกเหนือไปจากคุณสมบัติ 3 ประการของรสชาติแล้ว การมีอยู่จริงของรสชาติแต่ละชนิดสามารถยืนยันได้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์หลายชนิด เช่น ตัวรับรสชาติ (Taste Receptor) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญบนผิวเซลล์ที่สามารถจับตัวกับสารให้รสชาติอย่างจำเพาะเจาะจงแล้วส่งสัญญาณไปยังสมองเพื่อบอกว่ากำลังรับประทานอาหารที่มีรสชาติเป็นอย่างไร
ในตำราสมุนไพรไทยโบราณได้ระบุไว้ว่ารสชาติมี 9 ชนิด ได้แก่ รสเปรี้ยว รสหวาน รสเค็ม รสขม รสฝาด รสมัน รสเผ็ดร้อน รสหอมเย็น และรสเมาเบื่อ และอาจเพิ่มรสจืด (ไม่มีรสชาติ) เป็นรสชาติที่ 10 ก็ได้
รสชาติอาหารไทย ได้จากไหน
อาหารไทย เป็นอาหารที่มีรสชาติกลมกล่อม ซึ่งนอกจากวัตถุดิบหลากหลายที่ใช้ในการปรุงอาหารไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ ผักและสมุนไพรต่างๆแล้ว เครื่องปรุงรสยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้รสชาติอาหารดีขึ้นอีกด้วย ซึ่งเครื่องปรุงรสที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
อาหารไทย เป็นอาหารที่มีรสชาติกลมกล่อม ซึ่งนอกจากวัตถุดิบหลากหลายที่ใช้ในการปรุงอาหารไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ ผักและสมุนไพรต่างๆแล้ว เครื่องปรุงรสยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้รสชาติอาหารดีขึ้นอีกด้วย ซึ่งเครื่องปรุงรสที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
รสเค็ม
จากน้ำปลาเป็นส่วนใหญ่ การประกอบอาหารไทยเกือบทุกชนิด
ถ้าต้องการรสเค็มแล้ว
จะขาดน้ำปลาไม่ได้เลย สังเกตจากเวลารับประทานอาหาร จะต้องมีถ้วยน้ำปลาเล็ก ๆ รวมอยู่ในสำรับอาหารแต่บางครั้งนอกจากน้ำปลาแล้วยังใช้เกลือหรือซีอิ๊วขาวเป็นตัวปรุงรสอาหารให้เกิดความเค็ม
จะขาดน้ำปลาไม่ได้เลย สังเกตจากเวลารับประทานอาหาร จะต้องมีถ้วยน้ำปลาเล็ก ๆ รวมอยู่ในสำรับอาหารแต่บางครั้งนอกจากน้ำปลาแล้วยังใช้เกลือหรือซีอิ๊วขาวเป็นตัวปรุงรสอาหารให้เกิดความเค็ม
รสหวาน
การประกอบอาหารไทยรสหวาน โดยทั่วไปในอาหารไทยใช้น้ำตาลทรายในการประกอบอาหารแล้ว ยังมีน้ำตาลอีกหลายชนิด เช่น น้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลทรายแดง น้ำตาลโตนด น้ำตาลงบ ฯลฯ
รสเปรี้ยว
อาหารไทยนอกจากจะได้จากน้ำส้มสายชู แล้วยังมีมะนาว
และที่นำมาใช้ประกอบอาหารกันมาก โดยที่
ประเทศอื่น ๆ ไม่มีใช้ก็คือ ความเปรี้ยวที่ได้จากน้ำส้มมะขามเปียก น้ำมะกรูด น้ำส้มซ่า นอกจากนั้นรสเปรี้ยวจากใบมะขามอ่อน ใบมะดัน ใบส้มป่อย มะดัน ซึ่งรสเปรี้ยวจากสิ่งเหล่านี้มีแต่ในอาหารไทย
ประเทศอื่น ๆ ไม่มีใช้ก็คือ ความเปรี้ยวที่ได้จากน้ำส้มมะขามเปียก น้ำมะกรูด น้ำส้มซ่า นอกจากนั้นรสเปรี้ยวจากใบมะขามอ่อน ใบมะดัน ใบส้มป่อย มะดัน ซึ่งรสเปรี้ยวจากสิ่งเหล่านี้มีแต่ในอาหารไทย
รสเผ็ด
รสชาติอาหารของประเทศใดก็ไม่เผ็ดร้อนเหมือนอาหารไทย รสเผ็ดที่ได้จากอาหาร มาจากพริกขี้หนูพริกชี้ฟ้าสด เรายังนำมาตากแห้งเป็นพริกแห้ง คั่วแล้วป่นเป็นพริกป่น รสเผ็ดเป็นรสที่อาหารไทยจะขาดไม่ได้ในการประกอบอาหารคาวชนิดที่ต้องมีรสเผ็ด การจะใส่พริกมากน้อยขึ้นอยู่กับความต้องการรสของผู้บริโภค
รสมัน
อาหารไทย ได้รสมันจากกะทิและน้ำมันเป็นส่วนใหญ่ ในการประกอบอาหารไทยโดยเฉพาะอาหารประเภทแกงกับขนมไทย ความมันที่ได้จะมาจากแกงที่ใส่กะทิ เช่นแกงหมูเทโพ แกงเขียวหวาน ขนมชั้น ตะโก้ ฯลฯ ฉะนั้นรสชาติของอาหารไทย จึงมีความกลมกล่อมจากรสชาติต่าง ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น